สรุปกรมธรรม์และวางแผนการเงิน
ถ้าพูดถึงการวางแผนการเงิน หลายๆคนก็จะคุ้นเคยกับพีระมิดทางการเงินอย่างแน่นอน เราทุกคนรู้ว่าการลงทุนคือสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำเพื่ออนาคต แต่การที่แผนการเงินของเราจะมั่นคงได้ จะต้องสร้างรากฐานของสามเหลี่ยมนี้ให้แข็งแรงดีก่อน เพราะมันมีความสำคัญไม่แพ้การลงทุนเลยทีเดียว
การสรุปกรมธรรม์ เปรียบเสมือนการตรวจสอบดูว่า รากฐานของการเงินนี้มีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้าฐานของเราอ่อนแอ พีระมิดทางการเงินของเรานั้นก็พร้อมที่จะพังทลายลงมาได้ทุกเมื่อ ซึ่งการสรุปกรมธรรม์ มีอยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้
สรุปผลประโยชน์ที่มี
คือการรวบรวมความคุมครอง ผลตอบแทน พร้อมการสรุปเบี้ยที่จ่ายและเงื่อนไขของกรมธรรม์ทั้งหมด เพื่อให้เราสามารถทบทวนว่า ปัจจุบัน มีความคุ้มครองในแต่ละเรื่องอยู่เท่าไหร่ ควรจะบริหารกรมธรรม์และปรับเปลี่ยน อย่างไรดี
ประเมินความเสี่ยงในปัจจุบัน
เราจะต้องประเมินความเสี่ยงต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนความคุ้มครองให้ครอบคลุม ตัวอย่างเช่น หากเป็นประกันชีวิต ต้องคำนวณภาระหนี้สินของเราทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์ที่เราผ่อนอยู่ หรือ คนที่เราต้องเลี้ยงดู หากเป็นเรื่องสุขภาพ ก็ต้องคำนวนรายจ่ายกรณีต้องนอนรักษาตัว พร้อมอัพเดทค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล และเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด ค่ายา ค่าห้อง และเตรียมรายได้ทดแทน ทั้งกรณีป่วยทั่วไป หรือกรณีป่วยด้วยโรคร้ายแรง
เทียบความคุ้มครองที่ถืออยู่กับความเสี่ยงปัจจุบัน
เอาความคุ้มครองที่มีทั้งหมดมาเทียบความเสี่ยงที่เราประเมินไว้ เพื่อให้เห็นว่าเรามีความคุ้มครองที่ พอดี มากเกิน หรือ น้อยเกิน เพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เรารับอยู่ในช่วงนั้นๆ หรือสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการและเป้าหมายทางการเงินของเราที่อาจเปลี่ยนไปในแต่ละปี
เทียบความคุ้มครองที่ถืออยู่กับความเสี่ยงปัจจุบัน
เอาความคุ้มครองที่มีทั้งหมดมาเทียบความเสี่ยงที่เราประเมินไว้ เพื่อให้เห็นว่าเรามีความคุ้มครองที่ พอดี มากเกิน หรือ น้อยเกิน เพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เรารับอยู่ในช่วงนั้นๆ หรือสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการและเป้าหมายทางการเงินของเราที่อาจเปลี่ยนไปในแต่ละปี
ปรับเปลี่ยนความคุ้มครองให้เหมาะสม
หากเรามีความคุ้มครองมากเกินความจำเป็น เราก็สามารถปรับลดความคุ้มครองหรือลดภาระในการชำระเบี้ยบางอย่างลงได้ ไม่ว่าจะเป็น การเวนคืนมูลค่าเงินสด การแปลงเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ หรือแปรงเป็นกรมธรรม์แบบขยายเวลา แต่แนะนำให้ปรึกษาตัวแทนหรือที่ปรึกษาทางการเงินก่อนตัดสินใจ เพื่อความคุ้มค่าที่สุดของเบี้ยที่เราได้จ่ายไปก่อนแล้ว
หากความคุ้มครองที่เรามีอยู่มีน้อยเกินไป ไม่คุ้มครองกับความเสี่ยงที่ปัจจุบันเรามี หรือไม่ตอบโจทย์กับเป้าหมายหรือไลฟ์สไตล์ที่เราต้องการ เราก็จำเป็นต้อง ทำประกันด้านนั้นๆ เพิ่มเติม หรือเราสามารถอัพเดทกรมธรรม์ได้ เพราะประกันก็เหมือนกับโปรโทรศัพท์ที่มีตัวอัพเดทใหม่ในทุกๆ ปี เพื่อให้ตอบโจทย์กับเงินเฟ้อ หรือค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นในปัจจุบัน โดยเราจะต้องจ่ายเบี้ยไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก อาจเบี้ยถูกลงหรือแพงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ได้รับผลประโยชน์ที่สูงขึ้นกว่าเดิม